การตั้งราคาและผลกำไร

การตั้งราคาและผลกำไร

โดย ฐานิกาพานิช
ผู้เขียนเองเป็นผู้ประกอบการรายใหม่สำหรับการเปิดร้านค้าปลีก จึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาหาความรู้ทางด้านการค้าปลีกด้วยตนเองจากเว็บไซต์ต่างๆอยู่เสมอ และเมื่อได้อ่านแล้วรู้สึกว่ามีประโยชน์ก็อดที่จะถ่ายทอดต่อไปให้กับคนอื่นๆที่อาจจะแสวงหาความรู้ด้วยวิธีเดียวกัน สำหรับบทความนี้เกิดจากการที่ผู้เขียนได้เข้าไปอ่านในเว็บไซต์ของ MAKRO และพบว่าเป็นสิ่งดีๆที่ขออนุญาตนำมาแบ่งปัน

แม็กโครบอกว่า การตั้งราคาสินค้า และผลกำไร มีความสำคัญมากต่อธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบัน ถือเป็นกลยุทธ์ในการเรียกลูกค้าที่เห็นผลเร็วที่สุด ซึ่งการแข่งขันทางด้านราคาเพียงอย่างเดียว ก็อาจส่งผลทำให้ร้านค้าขายสินค้าได้จำนวนมาก แต่กำไรน้อยลงหรืออาจไม่ได้กำไรเลยก็ได้ ดังนั้นการวางกลยุทธ์ทางด้านราคา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เพื่อที่จะสามารถจัดการผลประกอบการ โดยภาพรวมของร้านได้

วัตถุประสงค์หลักๆ ที่กล่าวคือ

1.เพื่อสร้างยอดขาย อาจมุ่งเน้นการตั้งราคาพิเศษ ในกลุ่มสินค้าติดอันดับ หรือช่วงเปิดร้านใหม่

2.เพื่อสร้างผลกำไร มักใช้กับกลุ่มสินค้าเฉพาะ ซึ่งไม่สามารถเปรียบเทียบราคากับสินค้าทั่วไปได้

3.เพื่อสร้างภาพลักษณ์ และความสามารถในการแข่งขัน โดยมักจะเป็นการตั้งราคาทัดเทียม หรือต่ำกว่าคู่แข่ง โดยจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ที่โดดเด่นทั้งด้านหน้า และภายในร้าน

หลักการพื้นฐานในการตั้งราคาสินค้า สามารถทำได้โดยคำนวณต้นทุนของตัวสินค้า บวก กับค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการดำเนินร้านค้า อาทิเช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทางเพื่อไปซื้อสินค้ามาจำหน่ายที่ร้าน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการบริหารจัดการร้านค้า

ซึ่งส่วนมากมักนิยมคำนวณออกมาในรูปแบบเปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นสัดส่วนกับยอดขายรวมของร้านต่อเดือน แล้วจึงนำมาบวกกับผลกำไรที่ต้องการซึ่งแน่นอนราคาที่ตั้งควรเป็นราคาที่สามารถแข่งขันได้โดยสูตรการคำนวณ ที่ใช้กันโดยทั่วไปคือ

ราคาสินค้า = ต้นทุนตัวสินค้า x (100% +เปอร์เซ็นต์ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย + เปอร์เซ็นต์กำไรต่อหน่วยที่เหมาะสม)

ตัวอย่างการคำนวณ : ต้นทุนสินค้ามูลค่า 20 บาท, ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 5% จากยอดขาย 5,000 บาท/วัน หรือ

150,000 บาท/เดือน คือ 150,000 x 5% = 7,500 บาท, ผลกำไรที่ต้องการ คือ 15% ดังนั้น

ราคาสินค้าคือ 20 x (100% (5+15%)) = 24 บาท


กลยุทธ์ในการตั้งราคา

1.การตั้งราคาปกติ แล้วมีส่วนลดให้ลูกค้าตอนคิดยอดรวม เช่น ทั้งหมด 51 บาท แต่คิดแค่ 50 บาท

2.การตั้งราคาโดยอิงเชิงจิตวิทยา

◦การตั้งราคาสินค้าลงท้ายด้วยเลข 9 เช่น 19, 59, 109....

◦การตั้งราคาสินค้าโดยกำหนดมูลค่าราคาที่ต่ำกว่าราคาร้านคู่แข่งเช่น สินค้าทุกตัวถูกกว่า 1 บาท

3.การตั้งราคแบบผสม

◦ตั้งราคาสินค้าต่ำในหมวดสินค้าจำเป็นที่ลูกค้ามักจดจำราคาได้เพื่อดึงดูดลูกค้าให้สนใจ

◦ตั้งราคาสินค้าตามราคาตลาด สำหรับสินค้าบริโภค อุปโภคทั่วไป เพื่อสร้างภาพราคามาตราฐาน

◦ตั้งราคาสินค้าสูงในระดับที่เหมาะสม สำหรับสินค้าเฉพาะ เพื่อสร้างผลกำไรให้กับเจ้าของร้าน


ขอบคุณข้อมูลดีดีจากแม็คโคร http://www.siammakro.co.th/mail/food_MRA_know.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น